เมนู

กามฉันทะเป็นต้น. ก็ในที่นี้ จิต
มีการรู้นิวรณ์ เป็น ลักษณะ,
มีการเกิดก่อนและเป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็น กิจ,
มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็น ปัจจุปัฏฐาน,
มีนามรูป เป็น ปทัฏฐาน.

47. อรรถกถา ญาณวิวัฏญาณุทเทส


ว่าด้วย ญาณวิวัฏญาณ


คำว่า สุญฺญเต ปญฺญา - ปัญาในความว่าง ความว่า
ปัญญาเป็นเครื่องตามความเห็นโดยความเป็นอนัตตา อันเป็นไปแล้ว
ในอนัตตธรรมและธรรมอันเนื่องด้วยอนัตตะ เพราะอัตตะและธรรมะ
อันเนื่องด้วยอัตตะเป็นของว่าง.
บทว่า ญาณวิวฏฺเฏ ญาณํ - ญาณในความหลีกออกด้วย
ญาณ
ความว่า ญาณนั่นแหละย่อมหลีกออกจากความยึดมั่นถือมั่น
ฉะนั้นจึงชื่อว่า วิวัฏฏะ - ญาณอันเป็นเหตุแห่งการหลีกออกด้วยญาณ
นั้น.

48. อรรถกถาวิโมกขวิวัฏญาณุทเทส


ว่าด้วย วิโมกขวิวัฏญาณ


ในคำนี้ว่า โวสฺสคฺเค ปญฺญา - ปัญญาในการสละ พึงทราบ
วินิจฉัยดังต่อไปนี้ ธรรมใดย่อมสลัดออก ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า
โวสสัคคะ - การสลัดออก, การสละเสียได้ซึ่งกามฉันทะเป็นต้น เป็น
ปัญญาในคุณมีเนกขัมมะเป็นต้น.
คำว่า วิโมกฺขวิวฏเฏ ญาณํ - ญาณในการหลีกออกแห่ง
จิตด้วยวิโมกข์
ความว่า ธรรมใดย่อมพ้นจากนิวรณ์ทั้งหลายมีกาม-
ฉันทะเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า วิโมกข์, การหลีกออก คือ
วิโมกข์ ชื่อว่า วิโมกขวิวัฏฏะ, วิโมกขวิวัฏฏะนั้นนั่นแหละเป็นญาณ.

49. อรรถกถาสัจวิวัฏญาณุทเทส


ว่าด้วย สัจวิวัฏญาณ


คำว่า ตถฏฺเฐ ปญฺญา - ปัญญาในสภาวะที่เป็นจริง ความว่า
ปัญญาที่เป็นไปโดยไม่หลงด้วยสามารถแห่งกิจในสภาวธรรมอันไม่วิปริต
ในสัจจะหนึ่ง ๆ สัจจะละ 4 ๆ.
คำว่า สจฺวิวฏฺเฏ ญาณํ - ญาณในการหลีกออกด้วยสัจจะ
ความว่า ธรรมใดย่อมหลีกออกด้วยสามารถแห่งการออกจากส่วนสุดทั้ง